วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

Interrogation2

Finalink2

DetailFinal2

การเดินทางโดยรถยนต์โดยสาร    (จ.ร้อยเอ็ด)


การเดินทางด้วยรถยนต์ โดยสาร
        ทางที่สะดวกและสั้นที่สุดคือใช้เส้นทางกรุงเทพฯ ผ่านสระบุรี-นครราชสีมา-บ้านไผ่-มหาสารคาม ถึงจังหวัดร้อยเอ็ดใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ 512 กิโลเมตร

        รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 (หมอชิต2)กรุงเทพฯมีรถโดยสารทั้งธรรมดาและปรับอากาศไปจังหวัดร้อยเอ็ดวันละหลายเที่ยว สอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ หมอชิต 2 โทรศัพท์ 0 2936 2852-66 และจากจังหวัดร้อยเอ็ดมากรุงเทพฯ รถออกจากสถานีขนส่งร้อยเอ็ด ถนนเทวาภิบาล โทรศัพท์ 0 4351 1939 ,0-4351-2546


รถด่วน  /   กรุงเทพฯ - ร้อยเอ็ด
เริ่มเวลา     06.00 - 13.26 น.
และเวลา     23.00 - 06.25 น.

รถด่วน  /    ร้อยเอ็ด - กรุงเทพฯ
เริ่มเวลา     09.00 - 16.26 น.
และเวลา     21.45 - 05.11 น.

รถปรับอากาศชั้น 1
กรุงเทพฯ - ร้อยเอ็ด , ร้อยเอ็ด - กรุงเทพฯ ( ทุกวัน )
ในแต่ละวันมีรถจำนวน 32 เที่ยว ( ไป 16 เที่ยว กลับ 16 เที่ยว )
ตั้งแต่เวลา  07.05 - 24.00 น.

รถไฟ ต้องไปลงที่จังหวัดขอนแก่นแล้วต่อรถยนต์โดยสารเข้าจังหวัดร้อยเอ็ด สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตารางรถไฟได้ที่หน่วยบริการเดินทางการรถไฟแห่งประเทศไทยโทรศัพท์  0 2223 7010,0  2237 020 หรือสถานีรถไฟขอนแก่น 0 4322 1112

แผนที่

รูปภาพที่เกียวข้อง










ขอบคุณเนื้อหาจาก  http://www.roiet.go.th/101/index.php?option=com_content&view=article&id=38:2009-03-11-14-37-35&catid=4:2009-03-05-03-24-54&Itemid=25


วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความประทับใจในมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด


             

 ความประทับใจในมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั่งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ มีบุคลาที่มีความรู้ ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยไม่ได้อยู่ในพื้นที่แออัด ไม่มีปัญหารถติดหรือมลพิษ ชึ่งในทางตรงข้ามก็คือมีอากาศที่บริสุทธิเนื่องจากอยู่ท่ามกลางป่าไม้





















         











วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

การผสมสี

แม่สี (Primary Color) คืออะไร?

02
แม่สีคือสีพื้นฐาน 3 สี ที่เป็นรากฐานของสีทั้งหมดจำนวนอนันต์โทน ในโลก และไม่มีสีไหนที่ผสมออกมาได้เป็นตัวมัน
3 สีนี้สามารถผสมกันเองออกมาได้หลายสี
แม่สีประกอบด้วย
  • สีแดง RED
  • สีน้ำเงิน BLUE
  • สีเหลือง YELLOW
(ตามภาพ พยายามใช้สีแดง น้ำเงิน เหลือง ที่ตรงกับโทนแม่สีที่สุดแล้วค่ะ )

วงจรสี ( Color Wheel)

แม่สีสองสี คลอดลูกออกมาเป็นลูกสี #ทำลายกฏเกณท์ว่าต้องมีทั้งแม่และพ่อถึงจะมีลูกได้ 
ลูก ที่เกิดจากแม่สีสองสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน 50:50 เราเรียกว่า

Secondary Color” หรือ สีขั้นที่ 2

03
น้ำเงิน + เหลือง = สีเขียว Green
04
เหลือง + แดง = สีส้ม Orange
05
แดง + น้ำเงิน =สีม่วง Violet
06
ผสมออกมาได้ดังที่เขียนประกอบไว้

“Tertiary Color” หรือสีขั้นที่3

คือการสร้างสีใหม่ 6 สี
จากผสมสีขั้นที่ 1 กับสีขั้นที่ 2 หรือดูง่ายๆ จากภาพ คือการเพิ่มสี ไปตามสีข้างๆ ใน Color wheel
เช่น
  • ช่องที่อยู่ระหว่างสีม่วง กับ สีแดง ก็ใช้สองสีนี้ผสมกันออกมาได้ สีม่วงแดง 
  • ช่องที่อยู่ระหว่างสีม่วง กับ สีน้ำเงิน ผสมกันได้ สีม่วงน้ำเงิน 
07
  • สีส้ม ผสมกับ สีแดง = สีส้มแดง 
  • สีส้ม ผสมกับ สีเหลือง = สีส้มเหลือง
08
  • สีเขียว ผสมกับสีเหลือง =สีเขียวเหลือง 
  • สีเขียว ผสมกับสีน้ำเงิน = สีเขียวน้ำเงิน 
09

สีผสมเอง VS สีสำเร็จจากหลอด

อย่างที่พูดไปว่าแม่สีสามารถผสมสีออกมาได้อนันต์ตามความเข้มของสี 1 สี 2 ที่เราต้องการ ….
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราควรจะซื้อสีน้ำแค่ 3 หลอดมาผสมเอง!! 
นั่นก็เพราะว่า สีน้ำที่ผสมเองจากแม่สีมักจะขาด ความใส ในแบบที่ศิลปินมักจะต้องการ ไป
สีของมันมักจะดูหนัก – ข้น- หม่น- ไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ
อย่างที่เห็นในภาพว่าสีเหลืองนั้นใสแจ๋วก็จริง(เพราะไม่ได้ผสม) แต่สีส้มกลับดูหมองๆ สีม่วงยิ่งแล้วใหญ่
10

วงจรสีรอบนอกคือสีผสมเอง ส่วนวงในที่เล็กกว่าคือสีที่บีบออกมาโดยตรงค่ะ เขียนชื่อสีประกอบไว้แล้วเพื่อความเข้าใจง่าย
  • แดง Cadmium Red
  • ส้มแดง Vermilion Hue
  • ส้ม Orange
  • ส้มเหลือง Yellow Deep
  • เหลือง Cadmium Lemon
  • เขียวเหลือง Permanent Green
  • เขียว Permanent Green No.2
  • น้ำเงินเขียว Viridian Hue
  • น้ำเงิน Ultramarine
  • ม่วงน้ำเงิน Purple Lake
  • ม่วง Mineral Violet
  • ม่วงแดง Crimson Lake (สีนี้ออก Magenta หน่อยๆ)
11
นอกจากความใสแล้ว ยังมีเรื่องของความ “แจ๊ด” ของสีด้วย

ขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.bbblogr.com/how-to-draw-3/

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วีดีโอแนะนำเรื่อง วงจรสี






                                 

ขอบคุณวีโอจาก https://www.youtube.com/watch?v=97CUBRHSPBg

วงจรสี








            คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก สีสามารถสื่อถึงอารมณ์ และความรู้สึกได้ การเลือกใช้สีจึงมีความสำคัญ ถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นเรื่องยาก ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจกับ วงจรสี (Colour Wheel) กันก่อน เพื่อจะได้เป็นพื้นฐานของการเลือกใช้ และผสมสีต่อไป         


สีขั้นที่ 1 หรือแม่สี (Primary Colours)
แม่สี ประกอบด้วยสี 3 สี คือ
สีแดง
สีเหลือง
สีน้ำเงิน
ซึ่งเป็นสีที่ไม่สามารถ ผสมได้จากสีใดๆ








สีขั้นที่ 2 (Secondary Colours)

สีเขียว (เหลือง + น้ำเงิน)
สีม่วง (แดง + น้ำเงิน)
สีกลุ่มนี้ได้จากการผสมแม่สี 2 สีเข้าด้วยกัน
           
         




สีขั้นที่ 3 (Intermediate Colours)
สีขั้นที่ 3 ได้จากการผสมแม่สี กับ สีขั้นที่ 2 จึงได้สีเพิ่มอีก 6 สี ได้แก่
สีแดงอมส้ม
สีเหลืองอมส้ม
สีเขียวอมเหลือง
สีน้ำเงินอมเขียว
สีน้ำเงินอมม่วง
สีม่วงอมแดง
           




สีขั้นที่ 4 หรือสีตรงข้าม (Complementary Colours)
สีขั้นที่ 4 ได้จากการผสมสีที่อยู่ตรงข้ามกันของวงจรสี ถ้าผสมในสัดส่วนเท่าๆ
กันจะได้ สีดำ หรือ สีเทาเข้ม
           
         







         แต่ถ้าผสมในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันก็จะได้สีที่เข้มขึ้น เช่น
สีส้ม 75% ผสมกับ สีน้ำเงิน 25% จะได้ สีส้มเข้มที่คล้ายสีน้ำตาล
สีน้ำเงิน 75% ผสมกับสีส้ม 25% จะได้ สีน้ำเงินเข้มที่คล้ายสีเขียวอมน้ำเงิน
สีม่วงอมแดง 75% ผสมกับ สีเขียวอมเหลือง 25% จะได้ สีม่วงตุ่น
          





         นอกจากนี้ วงจรสี ยังช่วยให้เราแบ่งสีออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น
สีโทนเย็น
(Cool Colours)
ให้ความรู้สึกสงบ สบาย เย็น       
สีโทนร้อน
(Warm Colours)
ให้ความรู้สึกร้อน ตื่นเต้น




ขอบคุณเนื้อหาจาก http://vorabhasd.co.th/Adv_Col_Wheel.htm